ประวัติของคุณ(หมอเขียว)
ยาเม็ดที่ 1 
การรับประทานสมุนไพรปรับสมดุล
ยาเม็ดที่ 2
กัวซา หรือ ขูดซา หรือ ขูดพิษ หรือ ขูดลม
ยาเม็ดที่ 3
การสวนล้างลำไส้ (ดีท็อกซ์)
ยาเม็ดที่ 4 
การแช่มือ แช่เท้า
ยาเม็ดที่ 5
การพอก ทา หยอด ประคบ อบ อาบ
ยาเม็ดที่ 6
การออกกำลังกาย กดจุดลมปราณ โยคะ กายบริหารที่ถูกต้อง
ยาเม็ดที่ 7
การรับประทานอาหาร ปรับสมดุลร่างกาย
ยาเม็ดที่ 8
การใช้ธรรมะ เพิ่มพูนใจไร้กังวล
ยาเม็ดที่ 9
รู้เพียร รู้พักให้พอดี
image
ภาวะร้อนเกิน
อาการเด่นที่มักเกิดเมื่อมีภาวะร้อนเกิน เมื่อกระทบอากาศร้อน อาหารร้อน หรือสมุนไพรฤทธิ์ร้อนแล้วรู้สึกไม่สบาย
เมื่อกระทบอากาศเย็น อาหารหรือสมุนไพรฤทธิ์เย็นแล้วรู้สึกสบาย เบากาย หรือไม่สบายแต่เบากายมีกำลัง
image
ภาวะเย็นเกิน
เมื่อกระทบอากาศเย็น อาหารหรือสมุนไพรฤทธิ์เย็นแล้วรู้สึกไม่สบายอาการเด่นที่มักเกิดเมื่อมีภาวะเย็นเกิน เมื่อกระทบอากาศร้อน อาหาร หรือสมุนไพรฤทธิ์ร้อนแล้วรู้สึกสบาย เบากาย หรือไม่สบายแต่เบากายมีกำลัง
image
ภาวะร้อนเกินและเย็นเกิน เกิดขึ้นพร้อมกัน
กระทบร้อนก็รู้สึกไม่สบาย กระทบเย็นก็รู้สึกไม่สบาย ปรับสมดุลด้วยสูตรร้อนผสมกับสูตรเย็น โดยปรับสมดุลไปสู่จุดที่รู้สึกสุข สบาย เบากาย มีกำลัง กลับไปกลับมาตามภาวะร้อนเย็นของผู้นั้น
ตามหลักแพทย์วิถีธรรม พบว่าภาวะร้อนเย็นไม่สมดุลทำให้เกิดโรคทุกโรค เช่น มะเร็ง หัวใจ เบาหวาน ความดัน ไขมัน รวมทั้ง โรคติดเชื้อและไม่ติดเชื่อต่างๆ
การปรับสมดุลร้อนเย็น จะส่งเสริมให้สุขภาพแขร็งแรงขึ้น ช่วยลดโรคได้ทุกโรค
เป็นการแพทย์ดั้งเดิมของชาวไทยภูเขา ชาวจีน พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประสิทธิภาพโดดเด่นในการเอาพิษออก จากร่างกาย โดยระบายพลังงานที่เป็นพิษจากเลือด ที่ถูกกระตุ้นให้เคลื่อนที่มาระบายพิษ ที่ผิวหนัง ทำให้สามารถบรรเทาอาการ ไม่สบายได้อย่างรวดเร็ว

วิธีกัวซา ควรทำการกัวซาในสถานที่โล่งโปร่งและลมไม่โกรกจัด ใช้ขี้ผึ้งย่านาง ขี้ผึ่งเสลดพังพอน ขี้ผึ้งแก้หวัด ยาหม่องดำ น้ำมันเขียว น้ำมันเหลือง น้ำมันพืช น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น หรือน้ำเปล่าอย่างใดอย่างหนึ่งทาบนผิวหนังก่อนขูดซา บริเวณที่รู้สึกไม่สบาย

 

การขูดแต่ละครั้งให้ลงน้ำหนักแรง พอสบายไม่แรงเกินไม่เบาเกินความแรง ที่ได้ผลดีนั้นให้ลงน้ำหนักไปค่อนข้างแรง หน่อยเท่าที่จะ ไม่เจ็บ/ไม่ทรมารมากเกินไป อาจไม่รู้สึกเจ็บเลยหรือรู้สึกเจ็บเล็กน้อยใน ขีดที่ทนได้ โดยไม่ยากไม่ลำบากก็๋ได้ลง ลงน้ำ้หนัก สม่ำเสมอ การขูดที่พอดีคือ ขูดจุดละประมาณ 50 ครั้ง อาจขูดมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้เท่าที่รู้สึกสบาย - หลังทำกัวซา ควรเกิน 4-8 ชั่วโมงขึ้นไป จึงสามารถอาบน้ำได้ 
ขูดจากกลางศรีษะจนถึงตีนผม จนทั่วศรีษะ บริเวณใบหน้า ให้เอากึ่งกลางรหว่างคิ้วเป็น จุดศูนย์กลาง แล้วขูดออกไปเป็นรัศมีวงกลม ทุกทิศทุกทางหรือ ขูดออกด้านข้างก็ได้ สำหรับบริเวณตาให้หลับตาลง แล้วขูดเบาๆ จากหัวตามาหางตาและให้ทั่วบริเวณรอบตา ทั้งหมด ลงน้ำหนักและปริมาณการขูดแค่ พอรู้สึกสบาย
ส่วนที่ชิดประดูกสันหลัง ขูดตั้งแต่ต้นคอยาวลงมาจนถึงเอว ฟื้นที่แผ่นหลังส่วนที่เหลือให้ขูดออกข้าง ขูดบริเวณลำตัวด้านหน้า เริ่มจากกลางหน้าอกให้ขูดลง ใต้ไหล่ด้านหน้าให้ขูดออกข้าง หรือขูดลงก็ได้ ใต้ราวนมขูดตามร่องซี่โครงเฉียงเข้าหาสะดือ บริเวณท้องขูดลงหรือขูดเข้าหาสะดือก็ได้ ขูด คอ แขน มือ สะโพก ขา เท้าและจุดที่ไม่สบายอื่น ๆ หรือจุดที่จำทิศทางการขูดไม่ได้ ให้ขูดลงหรือขูดตามทิศที่เราขูดแล้วรู้สึกสบาย เพระาสภาพที่เกิดการบำบัดรักษาคือ สภาพที่รู้สึก สบายตามหลักปฎิบัติเพื่อความแข็งแรงอายุยืน ในพระไตรปิฎก อนายุสสสูตร ข้อที่ 1 การรู้จักทำความสบายแก่ตนเอง
1. การใช้แรงขูดควรสม่ำเสมอ ควรขูดจนเห็นรอย จุดแดงปรากฎขึ้นมาจนกว่าจะไม่แดงไปกว่านั้น (หากขูดสักพักแล้วไม่แดงก็ย้ายจุดขูดได้) หรือขูดจนบริเวณที่ขูดนั้นรู้สึกสบายขึ้น จากนั้นจึงขูดตำแหน่งอื่นต่อไป 2. บางครั้งหลังจากขูดแล้ว 2-3 วัน 
ตำแหน่งที่ขูดอาจจะมีอาการระบมปรากฎขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปรกติ หลังขูดจนเกิดรอยแดง ณ จุดนั้น ๆ ออกมาแล้ว เราสามารถแปลผลได้ดังนี้ 1. สีชมพูหรือสีแดงเรื่อ ๆ แสดงว่า ดี 2. เป็นปื้น แสดงว่า พิษเริ่มสะสม 3. เป็นจ้ำเหมือนไข้เลือดออก แสดงว่า พิษสะสมนานแล้วในทางแพทย์ทางเลือก เรียกว่า ลมแตก 4. ถ้าเป็นลักษณะช้ำ แสดงว่า มีพิษสะสมมาก ยิ่งถ้าช้ำจนถึงขั้นสีม่วงหรือสีดำ ในทางแพทย์ทางเลือกถือว่า มีพิษมากถึงขั้นมะเร็ง
อุปกรณ์ในการ สวนล้างลำไส้ใหญ่ 1.ขวดน้ำ 1.5 ลิตร 2.คลิปล็อค 3.สายยาง 4.น้ำสมุนไพร 5.น้ำสะอาด 6.สารหล่อลื่น

วิธีการ 1.วิธีการสวนล้าง ผสมน้ำสมุนไพร-น้ำสะอาด ปริมาณ 1000-1500 c.c ใส่ขวด 2.เปิดคลิปล็อค เพื่อระบายอากาศให้น้ำระบายออก 3.ทาสารหล่อลื่นที่ปลายสาย เพื่อง่ายต่อการ สอดสาย ทางรูทวารประมาณ 3-5 นิ้ว

ท่าที่ใช้ดีท็อกซ์  ให้แขวนขวดน้ำให้สูงประมาณ 90 ซ.ม 1.ท่านั่ง เบี่ยงสะโพกเล็กน้อยเพื่อเปิดรูทวาร 2.ท่ายืน เวลาเสียบสายอาจจะเบี่ยงสะโพกย่อตัวเล็กน้อยเพื่อเปิดรูทวาร 3.ท่านอน ให้นอนตะแคงโดยนอนทับแขนขวา-ขาขวาเหยียดหรืองอเล็กน้อยพอสบาย ส่วนขาซ้ายให้งอมาด้านหน้าเพื่อเป็นการเปิดรูทวารให้ง่ายในการสวนล้าง

 

เมื่อใส่น้ำได้ปริมาณที่ต้องการแล้ว ให้ปิดล็อคน้ำเพื่อให้น้ำหยุดแล้วนำ สายยางออก ขับถ่ายตามปกติ
image
วัตถุประสงค์ 
เพื่อระบายความร้อนและ(พิษ)ออกจากร่ายกาย ทางปลายมือและปลายเท้า ที่เกิดจากการทำงานและกิจกรรมต่างๆหรืออาการไม่สบาย(เจ็บป่วย)
อุปกรณ์ แช่มือ-แช่เท้า
1.กะละมัง 2 ใบ 2.สมุนไพรฤทธิ์ร้อน 3.สมุนไพรฤทธิ์เย็น 4.น้ำสะอาด

การเตรียมสมุนไพร แช่มือ-แช่เท้า ตามภาวะ ร้อนเกิน  สมุนไพรฤทธิ์เย็น เช่น หยวกกล้วย เปลือกกล้วย ใบมะขาม ใบหนาด (สมุนไพรที่หาได้ตามพื้นบ้าน) เลือกสมุนไพรอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันให้ได้ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 1-2 ลิตรจนเดือดแล้วผสมกับน้ำธรรมดาให้อุ่นแค่พอรู้สึกสบาย ถ้าไม่มีสมุนไพรเลย ก็ใช้น้ำเปล่าต้มให้เดือดแล้วผสมน้ำธรรมดาให้อุ่นก็ได้

 

การเตรียมสมุนไพร แช่มือ-แช่เท้า ตามภาวะเย็นเกินหรือร้อน-เย็นเกิดขึ้นพร้อมกัน สมุนไพรฤทธิ์ร้อน เช่น ขมิ้น ขิง ตะไคร้ ไพร ใบมะกรูด เป็นต้น เลือกสมุนไพรอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันให้ได้ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 1-2 ลิตรจนเดือดแล้วผสมกับน้ำธรรมดาให้อุ่นแค่พอรู้สึกสบาย ถ้าไม่มีสมุนไพรเลย ก็ใช้น้ำเปล่าต้มให้เดือดแล้วผสมน้ำธรรมดาให้อุ่นก็ได้
วิธีการแช่มือ-แช่แท้า
  แช่ประมาณ 3 นาที สลับยกขึ้น (พัก) 1 นาที ทำประมาณ 3 รอบ  (แช่ให้ท่วม ข้อมือ-ข้อเท้า)
แช่เท่าที่รู้สึกสบายเบากายมีกำลัง
image
วัตถุประสงค์ เพื่อปรับ สมดุลของร่างกายให้ปกติ ตามสภาวะดังนี้
ร้อนเกิน-เย็นเกิน  ร้อน-เย็นเกิดขึ้นพร้อมกัน

สภาวะร้อนเกิน นำสมุนไพรฤทธิ์เย็น เช่น ย่านาง ใบเตย บัวบก ผักบุ้ง กาบกล้วย สมุนไพรรสฝาด โขลก สับ ให้ละเอียด นำไปพอก-ทา ในจุดที่รู้สึกไม่สบาย

สภาวะเย็นเกิน นำสมุนไพรฤทธิ์ร้อน (นำไปต้ม) เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด นำไปพอก-ทา ในจุดที่รู้สึกไม่สบาย

 

สภาวะเย็นเกินหรือร้อน-เย็นเกินเกิดขึ้นพร้อมกัน ใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็น(นำไปต้ม) เช่น ย่านาง ใบเตย บัวบก ผักบุ้ง กาบกล้วย สมุนไพรรสฝาด นำไปพอก-ทา ในจุดที่รู้สึกไม่สบาย
การประคบ ร้อน-เย็น
การประคบร้อน นำสมุนไพรฤทธิ์เย็นหรือสมุนไพรฤทธิ์ร้อน ต้มให้เดือด ๕-๑๐นาที แล้วผสมน้ำธรรมดาให้อุ่น นำผ้าชุบบิดให้หมาด วางประคบบริเวณที่ไม่สบาย 
ประคบเย็น เมื่อรู้สึกปวด บวม แดง ตึง รั้ง เมื่อย อันเกิดจากภาวะร้อนเกิน สามารถใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็น เช่น กากย่านาง ที่เหลือจากการทำน้ำคลอโรฟิลล์สด พอกบริเวณที่รู้สึกไม่สบาย โดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำย่านาง พันทับกากสมุนไพรบริเวณที่พอก และใช้ผ้าขนหนูอีกผืนคอยชุบน้ำพันประคบทับ เมื่อผ้าร้อนหรือแห้ง ชุบน้ำย่างนางใหม่มาพันทับ พอกประมาณ ๒๐-๓๐ นาที หรือเท่าที่รู้สึกสบาย
 
การอบและการอาบด้วยสมุนไพร
การอบด้วยสมุนไพร 
ใช้สมุนไพรที่ถูกกับสมดุลของร่างกาย(ฤทธิ์ร้อน-ฤทธิ์เย็น)
 อาบน้ำก่อน อบสมุนไพร อบกี่รอบก็ได้เท่าที่รู้สึกสบาย(5-10 นาทีต่อรอบ) ต้มสมุนไพรให้เดือด3-5 นาที (แล้วน้ำมาอบ)
การอาบน้ำ ด้วยสมุนไพรที่ถูกกัน
1.ถ้าร่างกายมีภาวะร้อนให้อาบด้วยน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นหรือ(น้ำเย็น) 2.ถ้าร่างกายมีภาวะเย็นให้อาบน้ำสุมนไพรฤทธิฺ์ร้อนหรือ(น้ำอุ่น)
การหยอด
ตา-หู-จมูก
หยอดตา-หยอดหู ใช้ สมุนไพรฤทธิ์เย็น(สกัด)
 หยอดหู-หยอดตา ทำทั้ง ๒ ข้างเริ่มจากด้านซ้ายก่อน
การหยอดจมูก
 (หายใจทางปากแทน)หยอดไปเมื่อรู้สึกว่า น้ำไหลลงคอแล้วหยุด (ถ้าไม่ยินดีที่จะกลืนสามารถบ้วนทิ้งได้) ทำทั้ง ๒ ข้าง เริ่มจากซ้ายก่อน
การพอกทา
พอกในส่วนที่ไม่สบายมีอาการ ตึง แข็ง ปวด ปวม แดง ร้อน
ส่วนผสม
1.ผงถ่าน อัตราส่วน 1 ส่วน 2.น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น หรือ (ใช้น้ำสะอาดแทน) 3.ดินสอพอง อัตราส่วน 10 ส่วน (ไม่เหลวเกินไป-ไม่ข้นเกินไป)
นำส่วนผสมที่เตรียมไว้
 พอกทาบริเวณส่วนต่างๆที่รู้สึกไม่สบาย
ทิ้งไว้ 15 นาที
เมื่อแห้งตึง ให้ฉีดพ่นน้ำสกัดย่านางบริเวณนั้น 3 ครั้งแล้วล้างออก
การกายบริหาร สร้างความยืดหยุ่น ให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็น 
สร้างการเข้าที่เข้าทางของกระดูก กล้ามเนื้อและเส้นเอ็น แพทย์แผนปัจจุบันพบว่า ถ้ากล้ามเนื้อและเส้นเอ็นตึงแข็งเกร็งค้าง ไม่ยืดหยุ่น หรือกระดูกเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติ ก็จะกดรัดเส้นเลือดเส้นประสาท เลือดลมจะไหลเวียนไม่สะดวก ทำให้เกิดความเจ็บปวดมึนชาและความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย 
 
การแพทย์ ทางเลือกพบว่า
พลังงานที่ดีจะขับเคลื่อนไปหล่อเลี้ยงร่างกาย มากที่สุดเร็วที่สุด ทางเส้นลมปราณ ส่วนพลังงานที่ไม่ดีจะถูกขับออกจากร่างกายมากที่สุด เร็วที่สุดทางเส้นลมปราณเช่นเดียวกัน ซึ่งการเคลื่อนของพลังงานทั้งที่ดีและไม่ดีดังกล่าว จะเคลื่อนตามข้างกระดูก ข้างเส้นเอ็น ข้างเส้นประสาทและตามร่องของกล้ามเนื้อ

ภาพเเสดง จุดลมปราณ
ภาพเเสดง จุดลมปราณที่ ลิ้น
ภาพแสดงจุดลมปราณ ที่ใบหน้า
จุดเส้นลมปราณ ๑๒ เส้น ตามหลักแพทย์ แผนจีน

ภาพแสดง ทางเส้นลมปราณ ด้านหน้า-ด้านหลัง
ภาพแสดงเส้นลมปราณ ด้านหน้า
ภาพแสดงเส้นลมปราณ ด้านหลัง
กายบริหาร โยคะ กดจุดลมปราณ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า อาหารเป็นหนึ่งในโลก มีฤทธิ์ที่สุดในโลก ทำให้เรา แข็งแรง อายุยืน บรรลุธรรม ได้มากที่สุดในโลก 
วัตถุดิบหรืออาหาร มีฤทธิ์ที่สุดในโลก ต่อร่างกายและจิตใจ
 
 
๑.ถ้าถูกสมดุลร้อน-เย็น ชีวิตจะย่อยและกลายเป็นพลังของชีวิต จะทำให้เรารู้สึกสบาย (เบาท้อง-สบาย-เบากาย-มีกำลัง-อิ่มนาน)
๒.ถ้าอาหารไม่สมดุลกับชีวิต จะเกิดโทษต่อร่างกาย(หนักท้อง-ไม่สบาย-ไม่เบากาย-ไม่มีกำลัง-หิวเร็ว) เพราะไม่สมดุลชีวิตก็พยายามดันออกเมื่อเข้าไปในชีวิต ชีวิตจะรู้สึกไม่สบาย เกิดเป็นกลไกลก่อโรคต่างๆ
เรียนรู้อาหารหรือสมุนไพรที่มี ฤทธิ์ร้อนและฤทธิ์เย็น
 
เพื่อปรับสมดุลของร่างกายให้ถูกต้องจากอาหารหรือสมุนไพร วัดจากภาวะของร่างกายคือ ร้อนเกิน-เย็นเกิน
เป็นหลักหรือร้อนเกิน-เย็นเกิน-เกิดขึ้นพร้อมกัน หรือดูภาพรวมทั้งหมด ว่ารับประทานอาหารหรือสมุนไพรนั้นแล้วมีผลอย่างไรต่อภาวะของร่างกายหรือสังเกตอาการเด่นมี ๒ ประเด็นหลักดั้งนี้
 
อาการเด่น มี๒ประเด็นหลักดั้งนี้ 
๑.เมื่อรับประทานอาหารหรือสมุนไพรชนิดใดก็ตามเข้าไปมากๆก็ตาม ดื่มน้ำตามเข้าไปแล้วรู้สึกสดชื่นแสดงว่าอาหารชนิดนั้นมี ฤทธิ์ร้อน
(ชีวิตต้องการน้ำเข้าไปดับร้อนจึงทำให้รู้สึกสดชื่น)
 
  ๒.เมื่อรับประทานอาหารหรือสมุนไพรชนิดใดก็ตามเข้าไปมากๆก็ตาม ดื่มน้ำตามเข้าไปแล้วรู้สึก จืดผิดปกติแสดงว่าอาหารชนิดนั้นมี ฤทธิ์เย็น
(เพราะร่างกายเย็นจะสร้างความรู้สึกจืดผิดปกติขึ้นมา)
กรณีแยกอาหารหรือสมุนไพรชนิดนั้น ไม่ออกว่าเป็นฤทธิ์ร้อนหรือฤทธิ์เย็น
 ให้สังเกตุจากการดูสีของน้ำปัสสาวะ


 
 
 
 
 
 
 
 
กรณียังไม่ได้ทดสอบจากการรับประทานอาหารหรือสมุนไพร ว่ามี
ฤทธิ์เย็น หรือ ฤทธิ์ร้อน
ให้สังเกตุจาก สี ของอาหารหรือสมุนไพรชนิดนั้น
 
 
 
 
 
 
วิธีการดูสีของอาหารหรือสมุนไพร เรียงตามลำดับจาก ฤทธิ์เย็น ไปหา ฤทธิ์ร้อน ดังนี้
การดูสีของอาหารหรือสมุนไพร เรียงตามลำดับจาก ฤทธิ์เย็น ไปหา ฤทธิ์ร้อน
ยกเว้น เฉาก๊วย สีดำ มีฤทธิ์เย็น
 ยกเว้น มะเขือเทศ สีแดง มีฤทธิ์เย็น
  ยกเว้น สีเขียวเข้มบางชนิด มีฤทธิ์ร้อน คะน้า-ชะอม-ชะพลู
หลักของวิทยาศาตร์ สีขาว ดูดความร้อน น้อยกว่า สีดำ
หลักการรับประทานอาหารหรือสมุนไพรที่สำคัญที่สุด
ตามหลักแพทย์วิถีธรรมมี ๔ แบบดั้งต่อไปนี้
อาหาร เป็นหนึ่งในโลก อาหาร รักษาโรค
 
 
 
สูตร ๑ พลังพุทธ (ย่ำยีมาร/พิฆาตมาร) ไม่ปรุงเลย กินแยกทีละอย่าง 
กินสดได้กินสด ถ้ากินสุกใช้วิธีง่ายๆ ทำให้สุกคือ ไม่ปรุงรส ลวก ต้ม ปิ่ง ย่าง ไม่ปรุงเป็นกับข้าว
 
สูตร ๒ วรรณะ ๙
มีกับข้าวปรุงรสชาติ ๓๐% โดยใช้เกลือเป็นหลัก กินตามลำดับ เคี้ยวให้ละเอียด
 
 
การรับประทานอาหาร ตามลำดับดังนี้
 เพราะขึ้นอยู่กับ สภาพอากาศ และ อุณหภูมิของร่างกาย การกินอาหารตามลำดับจะทำให้ย่อยง่าย กินเท่าที่รู้สึกสบาย เบากาย มีกำลังและ มีพลังที่สุด
 
 
 
 
การกิน ๑ มื้อให้ได้พลังและประโยชน์มากกว่า การกิน ๓ มื้อ หรือกินแต่ละมื้อให้ได้ประโยชน์สูงสุด กรณีกินหลายมื้อ
๑.กินเท่าที่ร่างกายต้องการ (กินปริมาณที่เคยกิน ๑ มื้อปกติ ไม่ใช่เอา ๓ มื้อมารวมเป็น ๑ มื้อ)
 ๒.กินถูกสมดุล ร้อน-เย็น และไม่ปรุงหรือปรุงน้อย
๓.เคี้ยวให้ละเอียด
๔.ยินดีในการ กินเอาประโยชน์ กินกันหิว กินกันตาย
๕.กินเป็นยา กินฆ่ากิเลส อย่างไม่ชอบไม่ชัง ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ของอาหารกินในปริมาณที่ อิ่มสบาย ไม่แน่นท้องพลังเต็ม สบายเบากายมีกำลัง อิ่มนาน
 
หลักการสำคัญในการเคี้ยวอาหาร มี ๓ วิธีการหลังดังนี้
๑.เคี้ยวให้ละเอียด ละชอบละชัง-กลืน-เอาประโยชน์ รสชาติดีกว่า-กินเอาความอร่อย (รสทิพย์)
๒.เคี้ยวให้ ละเอียด-หยาบ กลืนส่วนที่ละเอียดเว้นส่วนที่หยาบไว้ เคี้ยวส่วนที่เหลือให้ละเอียด-กลืนตามลงไป
๓.การเคี้ยวที่เสียสุขภาพที่สุดคือ เคี้ยว ๒-๓ ครั้งแล้วกลืน คำเตือนใช้ในเวลาฉุกเฉินเท่านั้น
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ใจเป็นประทานใจเป็นใหญ่
ไม่ให้ติดใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ผู้ใดไม่ติดผู้นั้นจะได้รสทิพย์
การเคี้ยวอาหารให้ได้รสชาติดี ความอร่อยของอาหาร ไม่ได้อยู่ที่ลิ้น อยู่ที่ใจ
 
 
 
 
 
เพิ่มพูนใจไร้กังวล (หยุดทำชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้ผ่องใส)
คบมิตรดี สหายดี สร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี
อริยศีล รักษาโรค
  
ทุกข์ที่ใจทุกข์ทั้งแผ่นดิน
ทุกข์ที่กายเท่ากับฝุ่นปลายเล็บ
 
 
 
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
ตั้งตนอยู่บนความลำบาก กุศลธรรมเจริญยิ่ง -พากเพียรอยู่ในขีดลำบาก -แต่อย่าให้ทรมานมากเกินไป -พักให้พอ
จุดสำคัญก็คือ
เพียรให้หนักให้เหนื่อย แต่อย่าให้ป่วยและก็พักให้พอ
 
มีส่วนสำคัญ๓ ข้อ ดั้งนี้
๑.การพากเพียรทำกิจกรรมการงานต่างๆ มากเกินไปก็จะทำให้เกิด ร่างกายทรุดโทรม เสียหาย
๒.พักมากเกินไป ก็เสียสุขภาพ เลือดลมไหลเวียนไม่ดี
๓.ทางสายกลาง คือไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป อาจจะตึงเป็นบางครั้งไม่เป็นไร
 
แต่ทำตรงนี้ให้ได้มากที่สุด (เท่าที่จะทำได้)
 
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้